>>

วิธีป้องกันไม่ให้ตำรวจจับในการเล่น BB GUN

หลังจากคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีมติวินิจฉัยว่า ปืนบีบีหรือปืนอัดลมเบา เป็นสิ่งเทียมอาวุธปืนไม่ใช่อาวุธปืนตามพรบ.อาวุธปืนนั้น ด้วยผลของคำวินิจฉัยนี้จึงมีหลักที่สรุปได้ดังนี้ครับ หลายท่านและผู้เล่นมือใหม่ยังไม่ทราบกัน ว่าควรปฏิบัติอย่างไรแน่

ในส่วนของผู้เล่น : เรื่องการครอบครอง
       1.การมีปืนอัดลมเบาที่ยิงด้วยลูกกระสุนพลาสติกไว้ในครอบครอง ไม่ถือเป็นความผิดตามกฎหมายแต่อย่างใด และไม่ต้องมีใบอนุญาตให้ครอบครองตาม พรบ.อาวุธปืน

       2.ต้องไม่ทำการดัดแปลงสภาพปืนพื่อที่สามารถใช้แก๊ส CO2 ได้(ต้องควบคู่กับใช้ลูกกระสุนโลหะ) หรือใช้ลูกกระสุนชนิดที่เป็นโลหะทุกชนิดรวมไปถึงลูกแก้ว ในที่นี้ด้วย เพราะถ้าใช้ co2 (ต้องควบคู่กับใช้ลูกกระสุนโลหะ) พรบ.อาวุธปืนจะถือว่าเป็นอาวุธปืนทันทีไม่ใช่สิ่งเทียมอาวุธปืนตามที่ วินิจฉัยไว้แต่อย่างใดรวมไปถึงลูกกระสุนโลหะ เนื่องจากหัวใจหลักของคำวินิจฉัยคำพากษาฎีกาที่ทำให้ปืนอัดลมเบาเป็นเพียง สิ่งเทียมอาวุธปืนได้นั้น  ก็เพราะว่าสร้างมาเพื่อใช้กับลูกกระสุนพลาสติกที่ไม่สามารถทำอันตรายแก่ชิวิ ตผู้อื่นได้ ถ้าเปลี่ยนไปใช้ลูกระสุนชนิดอื่นจะถือเป็นการดัดแปลงสภาพ ในที่นี้คือปืนอัดลมประเภท อัดลมเบอร์1 หรือเบอร์2 (พวกลูกหัวเห็ด,หัวจีบ) ซึ่งต้องขึ้นทะเบียนตามกฎหมายและมีใบอณุญาตในการครอบครอง เมื่อไม่มีจะมีความผิดตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ในส่วนนี้ทันที

       3.ไม่นำไปกระทำการอันเป็นความผิดตามกฎหมายที่มีการบัญญัติไว้เป็นความผิด ทางอาญา ยกตัวอย่างเช่น ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ทำร้ายร่างกายหรือข่มขู่ รวมไปถึงกระทำการอันเป็นการทรมานสัตว์ซึ่งเป็นความผิดลุหโทษตามประมวลกฎหมาย อาญาด้วยเช่นเดียวกัน

ในส่วนของผู้เล่น : การพกพาหรือนำพา
    การนำพาปืนอัดลมเบาติดตัวไปในที่สาธารณะ ต้องเก็บไว้อย่างมิดชิดไม่ให้ผู้อื่นพบเห็นหรือเข้าใจผิดคิดว่าเป็นอาวุธปืน จริงได้ ตามผลของ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 371 ในที่นี้หมายถึงเก็บใส่กระเป๋าและปิดกระเป๋าไว้หรือเก็บในกล่องที่มิดชิด

สรุปหลักปฏิบัติที่ต้องกระทำตามอย่างเคร่งครัดตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่างๆ ที่บัญญัติไว้ดังนี้คือ

1.ไม่ทำการดัดแปลงสภาพเช่น ใช้แก๊ส CO2 จะผิดข้อนี้ได้ต้องควบคู่กับข้อ 2. ข้างล่างนี้เสมอ ลำพังเพียงข้อนี้อย่างเดียวไม่ผิด
2.ไม่ทำการดัดแปลงสภาพโดยใช้ลูกกระสุนที่เป็นโลหะทุกชนิดรวมไปถึงลูกแก้วด้วย จะใช้ได้ก็แต่เพียงลูกกระสุนที่เป็นพลาสติกเท่านั้น
3. เวลานำติดตัวไปสนามหรือสถานที่อื่นๆ ต้องมีกระเป๋าหรือกล่องสำหรับเก็บไว้อย่างมิดชิด ใส่กระเป๋าเสื้อหรือกระเป๋ากางเกงไม่ได้เด็ดขาด หรือวางไว้ในเบาะท้ายรถยนต์เฉยๆ หรือกระโปรงท้ายรถ ต้องมีกระเป๋าใส่หรือกล่องใส่ไว้อีกชั้นเสมอ
4.ไม่นำไปกระทำความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าเป็นความผิดทางอาญาตามกฎหมาย

เมื่อปฏิบัติตามหลักนี้แล้วถือว่าได้กระทำการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้อย่างถูกต้องทุกประการ ไม่มีความผิดทางอาญาใดๆ


ในส่วนของผู้ค้าหรือผู้ที่จะนำเข้ามาในราชอาณาจักร

      ในเรื่องนี้จะมีกฎหมายอยู่สองฉบับที่เกี่ยวข้องและต้องใช้ร่วมกันเสมอ คือ พรบ.อาวุธปืนและ พรบ. ศุลกากร จะขอกล่าวในส่วนของ ผู้เล่นที่หิ้วปืนเข้ามาหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรก่อนนะครับ  ผู้เล่นที่ต้องการนำปืนอัดลมเบาเข้ามาในประเทศเองนั้น  ถ้าจะปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว  ต้องมีใบอนุญาตหรือได้รับอนุญาตให้นำเข้าสิ่งเทียมอาวุธปืนจากนายทะเบียน ท้องที่นั้นๆ เสียก่อน จึงจะสามารถนำเข้ามาได้  โดยต้องแสดงใบอนุญาตนั้นต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่ด่านตรวจ แล้วกระทำตามที่เจ้าหน้าที่ศุลกากรเขากำหนดไว้จึงสามารถนำผ่านด่านเข้ามาได้ อย่างถูกต้องตามกฎหมาย 
      ปัญหาส่วนใหญ่ที่สงสัยกันคือทำไมเจ้าหน้าที่ศุลกากรถึงยึดไว้ได้ก็เนื่องจาก ผู้ที่นำเข้ามานั้นไม่ได้รับอนุญาตหรือมีใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่นั้นๆ เสียก่อน ซึ่งในส่วนนี้กฎหมายเขาบัญญัติไว้ชัดเจนมาก เพราะการนำเข้าสิ่งเทียมอาวุธปืนนั้น  ไม่ว่าจะเพื่อการค้าหรือนำมาใช้เองก็ตาม  กฎหมายอนุโลมให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการนำเข้าอาวุธปืนจริงๆ จะเห็นได้ว่ากฎหมายเคร่งครัดในเรื่องการนำเข้ามาก เพราะถือว่า ถ้านำเข้าไม่ได้การครอบครองก็เกิดขึ้นไม่ได้ ซึ่งเป็นการควบคุมและจำกัดจำนวนไปในตัว

      ในส่วนของผู้นำเข้าเพื่อค้านั้นก็เช่นเดียวกันคือต้องได้รับอนุญาตให้นำเข้า และเพิ่มอีกส่วนหนึ่งก็คือ อนุญาตให้ค้าด้วยจากนายทะเบียนท้องที่นั้นๆ มิเช่นนั้นจะมีความผิดตามกฎหมาย รายละเอียดปรากฎตาม พรบ.อาวุธปืน มาตรา 52, 53, 54, 16, 17, 18, 19, 30, 31 และมาตรา 37 ดังนี้

มาตรา 52 ห้ามมิให้ผู้ใดสั่ง นำเข้า หรือค้าซึ่งสิ่งเทียมอาวุธปืน เว้นแต่ได้รับ ใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่
มาตรา 53 ในการสั่ง นำเข้า หรือค้าสิ่งเทียมอาวุธปืน ให้นำมาตรา 16 มาตรา 17 มาตรา 18 มาตรา 19 มาตรา 30 มาตรา 31 และมาตรา 37 มาใช้บังคับ โดยอนุโลม
มาตรา 54 ใบอนุญาตที่ออกให้ตามความในหมวดนี้ มีอายุใช้ได้หนึ่งปีนับแต่ วันออก

มาตรา 16 ในการนำเข้าซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน ให้ผู้นำเข้าแจ้ง เป็นหนังสือและส่งมอบอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนไว้แก่พนักงานศุลกากร ณ ด่านที่แรกมาถึง จากนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ในกรณีซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนดให้มอบแก ่พนักงานศุลกากร ณ ด่านอื่น เมื่อพนักงานศุลกากรได้รับหนังสือแจ้งและรับมอบอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุน ปืนไว้แล้ว ให้แจ้งเป็นหนังสือไปยังนายทะเบียนท้องที่ที่ใกล้ที่สุด แต่ถ้าผ่านเข้ามาในท้องที่ที่ไม่มีด่านศุลกากร ให้ผู้นำเข้าแจ้งเป็นหนังสือและ ส่งมอบอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนไว้แก่นายทะเบียนท้องที่ หรือผู้ทำการแทนนายทะเบียน ท้องที่ที่ใกล้ที่สุดโดยไม่ชักช้า

มาตรา 17 ภายในกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันส่งมอบอาวุธปืนหรือ เครื่องกระสุนปืนแก่พนักงานศุลกากรหรือนายทะเบียนท้องที่ตามมาตรา 16 ในกรณีที่ผู้นำเข้า ยังไม่ได้รับอนุญาต ให้ผู้นำเข้ายื่นคำขอรับใบอนุญาตนำเข้าซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน นั้น ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีถิ่นที่อยู่ ถ้านายทะเบียนอนุญาตให้นำเข้าซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนให้ผู้นำเข้า ขอรับใบอนุญาตภายในกำหนดหกสิบวัน นับแต่วันรับแจ้งความการอนุญาตนั้นเป็นหนังสือ ถ้านายทะเบียนไม่อนุญาตให้สั่งเป็นหนังสือ ให้ผู้นำเข้าส่งกลับออกนอก ราชอาณาจักรซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนนั้นภายในกำหนดเวลาไม่น้อยกว่า สามสิบวัน และไม่เกินหกเดือน นับแต่วันที่ผู้นำเข้าได้รับคำสั่ง ในกรณีที่ไม่สามารถแจ้งคำสั่งให้ผู้นำเข้า ทราบได้ ให้นายทะเบียนโฆษณาคำสั่งนั้นทางหนังสือพิมพ์และปิดประกาศในที่เปิดเผยเป็น เวลาไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เมื่อพ้นกำหนดให้ถือว่าผู้นำเข้าได้ทราบคำสั่งนั้นแล้ว

มาตรา 18 ถ้าอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนซึ่งได้มอบไว้แก่พนักงานศุลกากร หรือนายทะเบียนท้องที่ตามมาตรา ๑๖ เป็นของสำหรับใช้ส่วนตัวโดยปกติของผู้นำเข้าซึ่งเดินทาง ผ่านหรือจะอยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราว ให้พนักงานศุลกากรหรือนายทะเบียนท้องที่แล้วแต่กรณี รักษาไว้จนเมื่อผู้นำเข้านั้นจะออกไปนอกราชอาณาจักรจึงคืนให้ แต่ถ้าผู้นำเข้าประสงค์จะใช้ อาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนนั้นระหว่างที่อยู่ในราชอาณาจักร ก็ให้ขอรับใบอนุญาตให้มีและ ใช้ชั่วคราวต่อนายทะเบียนท้องที่หรือเจ้าพนักงานซึ่งรัฐมนตรีจะได้กำหนดขึ้น เพื่อการนี้

มาตรา 19 ถ้าผู้นำเข้าซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนมิได้ยื่นคำขอรับ ใบอนุญาตภายในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันส่งมอบ หรือในกรณีที่นายทะเบียนท้องที่อนุญาต ให้นำเข้าแล้ว ผู้นำเข้าไม่มารับใบอนุญาตภายในกำหนดหกสิบวัน นับแต่วันที่นายทะเบียนสั่ง อนุญาตหรือมิได้ส่งกลับออกนอกราชอาณาจักรซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน ตามมาตรา ๑๗ หรือเมื่อได้รับอนุญาตให้นำเข้าซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนแล้วไม่มา รับอาวุธปืนหรือ เครื่องกระสุนปืนนั้นไปจากพนักงานศุลกากรหรือนายทะเบียนท้องที่จนพ้นกำหนด อายุใบอนุญาต หรือผู้นำเข้าซึ่งได้เดินทางผ่านหรือจะอยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวไม่รับคืน อาวุธปืนหรือเครื่อง กระสุนปืนไปเมื่อออกนอกราชอาณาจักร ให้อาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนนั้นตกเป็นของแผ่นดิน

มาตรา 30 ผู้รับอนุญาตให้สั่งอาวุธปืน หรือเครื่องกระสุนปืนต้องนำใบอนุญาต นั้นไปแสดงต่ออธิบดีกรมศุลกากรหรือเจ้าพนักงานซึ่งอธิบดีกรมศุลกากรมอบหมาย เพื่อการนี้ก่อนสั่ง

มาตรา 31 เมื่ออาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนตามใบอนุญาตให้สั่งเข้ามาถึงแล้ว ถ้าไม่มีผู้รับไปจากกรมศุลกากรภายในกำหนดสี่เดือนนับแต่วันเข้ามาถึง ให้เจ้าพนักงานศุลกากร แจ้งเป็นหนังสือแก่ผู้รับใบอนุญาต แต่ถ้าส่งหนังสือนั้นไม่ได้ ก็ให้แจ้งแก่เจ้าของยานพาหนะหรือ ผู้ขนส่งที่นำเข้าให้ส่งกลับออกนอกราชอาณาจักรภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วัน ที่ได้รับหนังสือ นั้น มิฉะนั้นให้อาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนนั้นตกเป็นของแผ่นดิน

มาตรา 37 ผู้รับใบอนุญาตคนใด ใบอนุญาตสิ้นอายุและไม่ได้ต่ออายุอีก ต้องจัดการจำหน่ายอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนที่มีอยู่ หรือส่งออกนอกราชอาณาจักรให้หมด ภายในกำหนดหกเดือน นับแต่วันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุในระหว่างเวลานั้น ถ้านายทะเบียนท้องที่ เห็นสมควรเพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน จะเรียกมาเก็บรักษาเสียเอง หรือเข้าควบคุม การเก็บรักษาก็ได้ แต่ต้องให้เจ้าของได้รับความสะดวกตามสมควรในอันที่จะจัดการจำหน่าย หรือส่งออกนอกราชอาณาจักรซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนนั้น เมื่อครบกำหนดหกเดือนแล้ว ถ้ายังจำหน่ายหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร ไม่หมดให้ผู้รับใบอนุญาตส่งมอบอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่เหลืออยู่แก่ นายทะเบียน ท้องที่ภายในกำหนดเจ็ดวัน เมื่อได้รับมอบอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนตามวรรคสองแล้วให้นายทะเบียน จัดการขายทอดตลาดอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนนั้นภายหลังที่ได้ประกาศขายทอด ตลาดและ แจ้งให้เจ้าของทราบแล้วตามสมควร ได้เงินสุทธิเท่าใดให้ส่งมอบแก่เจ้าของ

และตาม พรบ.ศุลกากร แล้วนั้น การนำเข้าสิ่งเทียมอาวุธปืนนั้นต้องได้รับอนุญาต ตามพรบ.อาวุธปืนเสียก่อนจึงจะนำเข้ามาในราชอาณาจักรได้ โดยมีหลักฐานมาแสดงแก่เจ้าหน้าที่หลังจากนั้นก็ต้องผ่านพิธีการทางศุลกากร เสียก่อนคือเสียภาษีในอัตราที่กำหนดไว้ตามประเภทนั้น เท่านี้ก็ถือเป็นการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามกฎหมายในเรื่องการนำเข้าและการ ค้าสิ่งเทียมอาวุธปืนค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น