>>

กฎหมายบบีบีกัน


ก่อนอื่น สิ่งแรกที่เราต้องมาทำความเข้าใจในเบื้องต้นกันก่อนก็คือ สาเหตุที่ทำให้ปืนบีบีกันหรือปืนอัดลมเบา ถือเป็นสิ่งเทียมอาวุธปืนตามกฎหมายนั้น เกิดมาจากเหตุผลทางกฎหมาย 2 ประการ โดยพอสังเขปดังต่อไปนี้ครับ

1.คำพิพากษาฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๗๙๓/๒๕๔๔ วินิจฉัยว่า ตามผลการตรวจพิสูจน์ปรากฏว่าอาวุธปืนของกลางเป็นสิ่ง เทียมอาวุธปืนพกชนิดอัดลมชนิดใช้ยิงกับลูกกระสุนพลาสติกทรงกลมขนาด ๖ มิลลิเมตร ซึ่งใช้ยิงทำอันตรายแก่ชีวิตและวัตถุไม่ได้ มิใช่อาวุธปืนตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐

2.บันทึก ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง BB GUN เป็นอาวุธปืนตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐ หรือไม่

          "ประเด็นที่หนึ่ง ปัญหาที่ว่า BB GUN เป็นอาวุธปืนตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐ หรือไม่ นั้น เห็นว่า มาตรา ๔ (๑) และ (๒)[๑] แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๑ ได้กำหนดบทนิยามคำว่า อาวุธปืน ให้หมายความรวมตลอดถึงอาวุธทุกชนิดซึ่งใช้ส่งเครื่องกระสุนปืนโดยวิธีระเบิด หรือกำลังดันของแก๊สหรืออัดลมหรือเครื่องกลไกอย่างใด ซึ่งต้องอาศัยอำนาจของพลังงาน... และกำหนดบทนิยามคำว่า เครื่องกระสุนปืน ให้หมายความรวมตลอดถึงกระสุนโดด กระสุนปราย กระสุนแตก...
          เมื่อ ปรากฎข้อเท็จจริงว่า วัตถุที่ BB GUN ใช้ส่งด้วยกำลังดันของแก๊สหรืออัดลม คือ สิ่งที่ทำมาจากพลาสติกหรือเซรามิคสังเคราะห์ ซึ่งมิใช่เครื่องกระสุนปืน นอกจากนั้น ยังปรากฏข้อเท็จจริงว่า โดยสภาพโครงสร้างของ BB GUN ที่ผลิตจากพลาสติกและเหล็กธรรมดาบางส่วนซึ่งไม่มีความแข็งแรงทนทานเพียงพอ ที่จะใช้ BB GUN เป็นอาวุธส่งเครื่องกระสุนปืนได้ ดังนั้น BB GUN จึงไม่เป็นอาวุธปืนตามบทนิยามคำว่า อาวุธปืน แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐

จาก เหตุผลทางกฎหมายทั้งคำพิพากษาฎีกาและบันทึกข้อหารือของคณะกรรมการกฤษฎีกาดัง กล่าวจึงสามารถสรุปได้ว่าปืนบีบีกันหรือปืนอัดลมเบา ที่ยิงด้วยกระสุนพลาสติกขนาด 6 มม.และ 8 มม.ถือเป็นสิ่งเทียมอาวุธปืนตามคำนิยามใน พรบ.อาวุธปืนฯ ดังมาตราต่อไปนี้  

มาตรา ๔ (๕) “สิ่งเทียมอาวุธปืน” หมายความว่า สิ่งซึ่งมีรูปและลักษณะอันน่าจะทำให้หลงเชื่อว่าเป็นอาวุธปืน

ใน เมื่อปืนบีบีกันหรือปืนอัลมเบาเป็นสิ่งเทียมอาวุธปืนแล้วตามกฎหมายเราควร ปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้องบ้างนั้น ผมจะขอแยกอธิบายได้ดังหัวข้อต่างๆ ต่อไปนี้ครับ

- การมีไว้ในครอบครองและนำไปใช้เพื่อการกีฬาและอื่นๆ
           หลายคนสงสัยว่าการที่ประชาชนมีสิ่งเทียมอาวุธปืนประเภทปืนบีบีกันหรือปืนอัด ลมเบาไว้ในครอบครองและใช้งานนั้น จะมีความผิดตามกฎหมายหรือไม่ หากเราพิจารณาตาม พรบ.อาวุธปืนฯ ในส่วนของ มาตราของบทนิยามเกี่ยวกับสิ่งเทียมอาวุธปืนและมาตราอื่นๆ ใน พรบ.อาวุธปืนฯ แล้วจะพบว่า กฎหมายไม่ได้บัญญัติหรือกำหนดวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการมี ใช้ ครอบครอง ซึ่งสิ่งเทียมอาวุธปืนเอาไว้เลย ดังนั้นเราก็ต้องถือว่าการครอบครองและการใช้สิ่งเทียมอาวุธปืนนั้น เราสามารถมีไว้ครอบครองได้อย่างเสรี ไม่มีความผิดตามกฎหมายครับ เพราะไม่มีกฎหมายใดๆ มาบังคับในส่วนของเรื่องนี้เอาไว้ครับ ทั้งนี้ก็เป็นไปตามหลักทั่วไปของกฎหมายที่มีลักษณะโทษทางอาญา เมื่อไม่มีกฎหมายย่อมไม่มีความผิดครับ ฉะนั้นแล้วทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงไม่สามารถจับกุมบุคคลที่มีสิ่งเทียมอาวุธ ปืนไว้ในครอบครองได้ ซึ่งที่ผ่านมาในอดีตมีเจ้าหน้าที่ตำรวจบางส่วนที่ไม่ทราบและบังคับใช้กฎหมาย ในเรื่องสิ่งเทียมอาวุธปืนแบบผิดๆ จนทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนมาแล้ว ตรงส่วนนี้ผมจึงอยากจะขอย้ำว่า การมี ใช้ ครอบครอง ซึ่งสิ่งเทียมอาวุธปืนนั้นไม่เป็นความผิดตามกฎหมาย พรบ.อาวุธปืนฯ ครับ          ถึงแม้ว่าการมีสิ่งเทียมอาวุธปืนไว้ในครอบครองจะไม่เป็นความผิดตาม พรบ.อาวุธปืนฯ ก็ตาม แต่ถ้าหากผู้หนึ่งผู้ใดนำสิ่งเทียมอาวุธปืนไปใช้ในการกระทำที่เป็นความผิด ตามกฎหมายแล้ว บุคคลผู้นั้นก็จะมีความผิดตามกฎหมายในเรื่องของการกระนั้นๆ อยู่ดีครับ อย่าได้เข้าใจผิดคิดว่าเอาสิ่งเทียมอาวุธปืนไปทำอะไรแล้วจะไม่มีความผิดตาม กฎหมายนะครับ อย่างนี้ไม่ถูกต้อง

- การพาไปในสถานที่ต่างๆ รวมถึงเคลื่อนย้ายไปในที่สาธารณะ
      การพาเคลื่อนย้ายสิ่งเทียมอาวุธปืนนั้น ในที่นี้ผมจะไม่เรียกว่า "การนำพา" หรือ "การพกพา" ก็เนื่องมาจากว่าคำทำสองคำนี้ตามกฎหมายแล้วเขาให้ใช้บังคับเกี่ยวกับอาวุธ ปืนไม่ได้ใช้บังคับกับสิ่งเทียมอาวุธปืน ซึ่งโดยหลักของกฎหมายที่มีลักษณะโทษทางอาญาแล้วต้องตีความโดยเคร่งครัด จึงไม่สามารถนำคำเหล่านี้มาใช้กับสิ่งเทียมอาวุธปืนได้ครับ โดยในเรื่องของการพาเคลื่อนย้ายนี้ ตาม พรบ.อาวุธปืนฯ ก็ไม่ได้บัญญัติวิธีปฏิบัติเอาไว้ ดังนั้นก็ถือเช่นเดียวกับการมี ใช้ ครอบครอง ก็คือ สามารถเคลื่อนย้ายไปสนามบีบีกันหรือพาไปในที่สาธารณะต่างๆ (เว้นแต่ที่เข้ามีป้ายห้ามไว้เฉพาะ) ได้อย่างเสรีไม่มีความผิดตามกฎหมายแต่อย่างใดครับ
      แต่ก็เนื่องมาจากเหตุที่ว่าด้วยรูปร่างและลักษณะของสิ่งเทียมอาวุธปืนนั้น สามารถทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดและเกิดความตกใจว่าเป็นอาวุธปืนได้ ดังนั้นโดยมารยาทที่ดีของการพาเคลื่อนย้ายสิ่งเทียมอาวุธปืนเหล่านี้ เราจึงควรที่จะเก็บให้มิดชิดเวลาเรานำติดตัวหรือใส่พาหนะรถยนต์หรือ มอเตอร์ไซด์ไปไหนมาไหน เพื่อป้องกันมิให้ผู้อื่นเกิดความตกใจและเข้าใจผิดได้ครับ การเก็บให้มิดชิดในที่นี้ก็ตัวอย่างเช่น เก็บใส่กระเป๋า เก็บใส่ไว้กระโปรงท้ายรถยนต์หรือ กระเป๋าเป้ต่างๆ ที่ไม่ให้บุคคลทั่วไปเห็นได้โดยง่าย เท่านี้ก็เป็นการเพียงพอแล้วครับ
       เช่นเดียวกัน ในเรื่องของการพาเคลื่อนย้ายสิ่งเทียมอาวุธปืนไปในที่สาธารณะนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ไม่สามารถที่จะจับกุม บุคคลผู้หนึ่งผู้ใดที่พาเคลื่อนย้ายสิ่งเทียมอาวุธปืนในที่สาธารณะได้ไม่ว่า บุคคลเหล่านั้น จะเคลื่อนย้ายโดยเปิดเผยหรือมิดชิดก็ตาม เนื่องจากมันไม่ได้เป็นความผิดตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งในอดีตที่ผ่านมามีเจ้าหน้าที่ตำรวจบางส่วนเผลอไปจับยึดสิ่งเทียมอาวุธ ปืนแล้วลงโทษปรับบุคคลเหล่านั้นมาแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย บุคคลเหล่านั้นสามารถดำเนินการเอาผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบแก่ตำรวจผู้นั้นได้ ดังนั้นเรื่องนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องระมัดระวังครับ ทั้งนี้สิ่งที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะสามารถดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ตาม กฎหมาย ก็มีแต่เพียงเข้าไปขอตรวจสอบและสอบถาม หากพบผู้หนึ่งผู้ใดพาสิ่งเทียมอาวุธปืนไปในที่สาธารณะในลักษณะเปิดเผยแก่ผู้ พบเห็นได้ทั่วไป ไม่ได้เก็บสิ่งเทียมอาวุธปืนให้มันมิดชิด โดยเข้าไปตักเตือนและบอกเหตุผลถึงความไม่เหมาะสมของการพาเคลื่อนย้ายไปโดย เปิดเผยแก่บุคคลผู้นั้นครับ แต่ถ้าเป็นการพาไปโดยมิดชิดแล้วพบเจอก็เป็นแต่เพียงขอตรวจตามวิธีปกติทั่วไป ครับ

- การขายต่อมือสองที่ไม่ใช่การขายเพื่อการค้าและธุรกิจ
      เนื่องมาจากว่า สิ่งเทียมอาวุธปืนแม้จะไม่มีกฎหมายควบคุมบังคับในส่วนของการมี ใช้ ครอบครองและการพาเคลื่อนย้ายไปในที่สาธารณะหรือสถานที่ต่างๆ ก็ตาม แต่สิ่งเทียมอาวุธปืนก็มีกฎหมายบัญญัติห้ามและบังคับในส่วนของการค้าขายสิ่ง เทียมอาวุธปืนเอาไว้ ว่าผู้ใดจะค้าขายสิ่งเทียมอาวุธปืนจะต้องขออนุญาตจากนายทะเบียนเสียก่อนจึง จะสามารถค้าขายสิ่งเทียมอาวุธปืนได้ไม่งั้นจะมีความผิดตามกฎหมาย หลายคนจึงเป็นกังวลและสงสัยว่าการขายต่อมือสองมันก็เป็นการขายเหมือนกันจะ ต้องขออนุญาตจากนายทะเบียนหรือไม่ ในเรื่องนี้หากเราพิจารณาตาม พรบ.อาวุธปืนฯ แล้ว การขายสิ่งเทียมอาวุธปืนดังกล่าวจะต้องเป็นการขายในลักษณะของการค้า ในการประกอบธุรกิจโดยมีผลกำไรตอบแทนมาจากการค้าขายนั้น แต่การขายต่อมือสองไม่ใช่การขายในลักษณะของการค้า การประกอบธุรกิจ จึงไม่ต้องขออนุญาตจากนายทะเบียนครับ แต่ถ้าการขายต่อมือสองเป้นในลักษณะที่นำของมือสองมาขายเพื่อหวังผลกำไร เช่นนี้แล้วถือเป็นการค้าอย่างหนึ่ง ต้องขออนุญาตจากนายทะเบียนมิเช่นนั้นจะมีความผิดตามกฎหมายครับ

- การประมูลขายสิ่งเทียมอาวุธปืนสามารถทำได้หรือไม่
            การประมูล คือ เสนอขายหรือเสนอซื้อสินค้าหรือบริการระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ที่เข้ามาแข่งขันกันเสนอราคาในช่วงเวลาที่กำหนด โดยผู้ที่เสนอราคาสูงสุดหรือต่ำสุดจะเป็นผู้ชนะการประมูลและได้รับสินค้าไป ดังนั้นการประมูลก็คือรูปแบบวิธีการซื้อขายอย่างหนึ่ง ถ้าหากการประมูลขายสิ่งเทียมอาวุธปืนเป็นการทำในลักษณะเพื่อการค้าแล้ว ก็ย่อมจะต้องขอใบอนุญาตค้ากับนายทะเบียนตามกฎหมายด้วยเช่นเดียวกัน เหมือนกับการค้าสิ่งเทียมอาวุธปืนตามวิธีการซื้อขายแบบปกติทั่วไป แต่ถ้าหากเราประมูลขายในลักษณะขายต่อที่ไม่ใช่การค้าแล้ว ก็ไม่ต้องไปขอใบอนุญาตค้ากับนายทะเบียนครับ ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้รวมไปถึงการประมูลขายตามเว็บบอร์ดที่กำหนดให้มีการ ประมูลสินค้าในส่วนนั้นๆ ด้วยนะครับ

         เรื่องหลักๆ ของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตัวผู้เล่นโดยตรงก็มีเพียงเท่านี้ครับ หวังว่าผู้เล่นทุกคนจะนำไปปฏิบัติกันอย่างถูกต้องตามกฎหมายอย่างไม่เป็น กังวลอีกต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น