ได้ทำ การพิสูจน์ และวินิจฉัยแล้วว่า ปืน BB ไม่ใช่อาวุธปืน แต่เป็น "สิ่งเทียมอาวุธปืน" ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 โดยกฎหมายดังกล่าว ได้ให้ความหมายของคำว่า "สิ่งเทียมอาวุธปืน" หมายความถึง สิ่งซี่งมีรูปและลักษณะอ้นน่าจะทำให้หลงเชื่อว่า เป็นอาวุธปืน จากคำนิยามดังกล่าวจะเห็นได้ว่า สิ่งใดก็ตามที่มีรูปและลักษณะ อันทำให้หลงเชื่อว่า
เป็นอาวุธปืน จะเป็นเพียง "สิ่งเทียมอาวุธปืน" ไม่ใช่ "อาวุธปืน" และจากคำนิยามดังกล่าว ลำพังชิ้นส่วนของปืน BB ก็ไม่ใช่อาวุธปืน เพราะชิ้นส่วนของปืน BB ไม่อาจทำให้ผู้ที่พบเห็นหลงเชื่อว่าเป็นอาวุธปืน ซึ่งคำนิยามของคำว่า "สิ่งเทียมอาวุธปืน" จะแตกต่างจากนิยามของคำว่า "อาวุธปืน" ที่กฎหมายให้ความหมายรวมถึงว่า เพียงส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธปืน ก็ให้ถือเป็นอาวุธปืนด้วย เมื่อปืน BB ไม่ใช่อาวุธปืน แต่เป็นเพียง "สิ่งเทียมอาวุธปืน" การมีปืน BB ไว้ในครอบครอง จะมีความผิดตามกฎหมายหรือไม่ ?
- การมีปืน BB ซึ่งเป็นเพียงสิ่งเทียมอาวุธปืนไว้ในครอบครองนั้น ไม่มีความผิด และ ไม่จำเป็นต้องได้รับใบอนุญาต จากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ แต่อย่างใด เนื่องจากพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ไม่ได้กำหนดไว้ว่า ผู้ที่มีสิ่งเทียมอาวุธปืนไว้ในความครอบครอง ได้ ต้องมีใบอนุญาต ให้มีสิ่งเทียมอาวุธปืน ไว้ในความครอบครองก่อน ซึ่งแตกต่างจาก เรื่องอาวุธปืน ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้ที่มีอาวุธปืน ไว้ในครอบครอง จะต้องได้รับใบอนุญาตก่อน การพกพาปืน BB ติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ มีความผิดตามกฎหมายหรือไม่?
- การพกพาปืน BB ติดต้วไปในสถานที่ดังกล่าวข้างต้น ก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ เช่นกัน เนื่องจากพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ไม่ได้บัญญัติกำหนดว่า ผู้ที่พกพาสิ่งเทียมอาวุธปืน ไปในสถานที่ดังกล่าวข้างต้น จะต้องมีใบอนุญาตให้พกพาสิ่งเทียมอาวุธปืนนั้น ๆ ก่อน ซึ่งแตกต่าง จากการพกพาอาวุธปืน ติดตัวไปในที่สาธารณะ ซึ่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ กำหนดให้ผู้ที่พกพาอาวุธปืนติดตัวไปนั้น
- จะต้องได้รับใบอนุญาตให้พกพาอาวุธปืนกระบอกนั้น ๆ ไปในที่สาธารณะได้ แต่อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าการพกพาปืน BB ติดตัวไปในที่สาธารณะโดยเปิดเผย จะไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ซึ่งมีโทษร้ายแรงถึงจำคุก แต่ก็มิใช่ว่าผู้เล่นปืน BB จะสามารถเดินถือปืน BB ไปในที่สาธารณะอย่างเปิดเผยได้ เนื่องจากปืน BB นั้น มีลักษณะที่เรียกได้ว่า แทบจะไม่แตกต่างไปจากอาวุธปืนของจริงเลยทีเดียว ผู้ที่พบเห็นย่อมเข้าใจผิด คิดว่าปืน BB เป็นอาวุธปืนได้ นอกจากนี้ ด้วยคุณลักษณะของปืน BB แม้จะไม่ใช่อาวุธปืน แต่ปืน BB ก็ยังอาจจะถูกนำมาใช้เป็นอาวุธได้ ดังนั้น ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 371 จึงกำหนดไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดก็ตาม พาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ โดยเปิดเผย หรือไม่มีเหตุอันควร ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท และให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบอาวุธนั้น
ควรปฏิบัติอย่างไรในการขนย้าย ปืน BB และอุปกรณ์ในการเล่น BB Gun
- เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้น ผู้มีปืน BB ไว้ในครอบครอง จึงควรใช้ ความระมัดระวัง และปฏิบัติต่อปืน BB ในการพกพา และขนย้าย เฉกเช่นเดียวกับ ที่พึงปฏิบัติต่ออาวุธปืน กล่าวคือ ไม่พกพาปืน BB อย่างเปิดเผย (พกพาในลักษณะที่ ผู้อื่นสามารถ เห็นได้ ไม่ว่าโดยง่ายหรือต้องสังเกต) ไปในที่ สาธารณะ และเมื่อทำการขนย้าย ก็ควรเก็บปืน BB และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้เล่น BB Gun ไว้ในที่เก็บสิ่งของ ท้ายรถยนต์ โดยควรมีกระเป๋าใส่ปืน BB แยกต่างหากจากกระเป๋าใส่ที่บรรจุกระสุน (แม็กกาซีนปืน) และอุปกรณ์อื่น ๆ
สรุปหลักการและข้อกฎหมายอ้างอิง
- ปืน BB ไม่ใช่อาวุธปืนตาม มาตรา 4(1) แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (โดยความเห็น จากการพิสูจน์ โดยกองพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ) ซึ่งบทบัญญัติในมาตรา 4(1) ระบุไว้ อย่างชัดเจน ดังนี้
มาตรา 7 ห้ามมิให้ผู้ใดทำการ ซื้อ มี ใช้ สั่ง หรือนำเข้า ซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่
- เนื่องจากปืน BB ไม่ใช่อาวุธปืน การซื้อ (ไม่รวมถึงการนำเข้า) มี และใช้ปืน BB ไม่ต้อง ขออนุญาต ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ
มาตรา 8 ทวิ ห้ามมิให้ผู้ใดพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตั ว เว้นแต่เป็นกรณีที่ต้องมีติดตัว เมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามควรแก่พฤติการณ์ ไม่ว่ากรณีใด ห้ามมิให้พาอาวุธไปโดยเปิดเผย หรือพาไปในชุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อนมัสการ การรื่นเริง การมหรสพ หรือการอื่นใด
- เนื่องจากปืน BB ไม่ใช่อาวุธปืน การพกพา และขนย้ายปืน BB โดยมิดชิด และ ไม่เปิดเผยไปในยานพาหนะ หรือ กับตัวผู้ขนย้าย ไม่เป็น ความผิด ตามมาตรา 8 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ
มาตรา 4 "อาวุธปืน" หมายความรวมตลอดถึงอาวุธทุกชนิด ซึ่งใช้ส่งเครื่องกระสุนปืนโดยวิธีระเบิด หรือกำลังดันของแก๊ส หรืออัดลม หรือเครื่องกลไกอย่างใด ซึ่งต้องอาศัยอำนาจของพลังงาน และ ส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธนั้น ๆ ซึ่งรัฐมนตรีเห็นว่าสำคัญ และได้ระบุไว้ ในกฎกระทรวง (กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2490)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น